หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
โครงสร้างเศรษฐกิจไทย
 
หน่วยที่ 8 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ  
  8.6 องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคต่างๆของโลก  
     
  โครงสร้างเศรษฐกิจไทย  
 

โครงสร้างเศรษฐกิจ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย

 
 

 

 
  การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมาประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน ดังนี้  
     
 
  1. ปัญหาการขาดปัจจัยการผลิตและบริการขั้นพื้นฐาน
  2. ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
  3. ปัญหาการกระจายรายได้และความเจริญที่ยังไม่เป็นธรรม
  4. ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและปัญหามลพิษ
  5. ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในอัตราสูง
  6. ปัญหาสถาบันการเงินขาดสภาพคล่องและปัญหาหนี้เสียในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
  7. ปัญหาสังคมและอาชยากรรมต่างๆ

 

 
  การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยเพื่อให้คนในประเทศมีความสุขที่ยั่งยืน สามารถทำได้ ดังนี้  
     
 
  1. ทำข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  2. ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชนทั้งในชนบทและในเมืองเข้มแข็ง
  3. ปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจหันมาพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียงอย่างเต็มรูปแบบด้วยการพัฒนาแบบ พึ่งพาตนเอง
  4. พัฒนาระบบสหกรณ์เป็นเศรษฐกิจอีกระบบหนึ่งควบคู่ไปกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
  5. พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เหมาะสมสอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศ
  6. ปฏิรูปการเมือง
  7. ปฏิรูปการศึกษา
 
  โดยการใช้หลักการ “ทฤษฎีใหม่” มี 3 ขั้นตอน คือ  
  1. มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด และขจัดการใช่จ่าย  
  2. รวมพลังกันในรูปกลุ่มเพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ และด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม
 
  3. สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพ และขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย  
                การดำเนินงานต้องประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและ ภาคราชการในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการ และข้อมูลข่าวสาร
            ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกระบบตะกร้าเงินตราต่างประเทศ
Basket of currency ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และหันไปใช้นโยบายการลอยตัวค่าเงิน A money float ค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ได้ลดลงร้อยละ 15-20 และได้ส่งผล กระทบต่อเศรษฐกิจขอภูมิภาคเอเชียทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มอาเซียน ค่าเงินของประเทศไทยจะแข็งกว่าหลายประเทศเมื่อมูลค่า ของเงินประเทศไทยลดลง ทำให้จำนวนเงินของประเทศเพื่อนบ้านในระบบแลกเปลี่ยนได้รับผลกระทบ
 
     
                    ก่อนที่ประเทศไทยจะประกาศ ลอยตัวค่าเงินในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ประเทศไทย ได้เปิดเสรีทางการเงินในปี 2536 ซึ่งในขณะนั้น ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ Pegged exchange system ซึ่งทำให้ดอกเบี้ยในประเทศอยู่ใน อัตราสูง ทำให้ดึงดูดเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ในเวลาต่อมาเงินบาทมีค่าสูง กว่าความเป็นจริง Overvalued และที่สำคัญตะกร้าเงินตราต่างประเทศของประเทศไทยประกอบด้วยเงินดอลล่าร์ สหรัฐอเมริกา สูงถึง ร้อยละ 80 ส่งผลให้สภาพคล่องภายในประเทศมีสูงมาก ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้สูง เกินความเป็นจริง มีผู้กู้เอามาทำธุรกิจเป็นจำนวนมาก อันดับต้นๆ คือ ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน บ้านจัดสรร การเติบโต ของเศรษฐกิจอยู่ในลักษณะของการใช้จ่ายเงินจากทุนที่ไหลเข้า จากต่างประเทศ ซึ่งมิได้เติบโตจากรายได้ การลงทุน ที่แท้จริง ซึ่งเรียกกันว่าเป็นการเติบโตแบบฟองสบู่ และเมื่อต่างชาติถอนเงินทุนกลับ เศรษฐกิจของประเทศไทย ก็ล้มลงอย่างหมดท่าและที่ปรากฏชัดมองเห็นได้คือ * การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมหาศาล ในปี 2538 – 2539 เทียบได้ร้อยละ 8 และ 7.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ อัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกลดลงอย่างรวดเร็วกล่าวคือ จากร้อยละ 23.6 ในปี 2536 เหลือเป็นร้อยละ 0 ในปี 2539  
   เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้ไทยต้องหันไปกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลจากต่างประเทศ หนี้ต่างประเทศจำนวนมหาศาล    
             
  ประมาณการว่าหนี้ต่างประเทศ ในปี 2540 มีราว 99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ
หนี้ข้างต้นเป็นหนี้ภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่คิดเป็นเปอร์เซ็นหนี้ภาคเอกชน 80 % ส่วนภาครัฐมี 20 % จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสังเขปและแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลในขณะนั้น
รัฐบาลในขณะนั้น ได้ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ หรือ IMF เพื่อฟื้นฟูประเทศ ซึ่งองค์การระหว่างประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญอีก 2 องค์กรคือ
1. องค์กรการค้าโลก
WTO
2. ธนาคารโลก
IBRD
ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขให้ประเทศไทยต้องดำเนินการตาม ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
 
     
 
  1. การจัดทำงบประมาณประจำปีไม่เกินดุล (ทำขาดดุล) เพื่อเป็นการไม่ให้รัฐบาลผลิตธนบัตรมาใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เงินเฟ้อ
  2. การจัดทำงบประมาณต้องจัดตามความสำคัญก่อน-หลัง โดยไม่มีอิทธิพลของการเมืองเข้าแทรกแซงเป็นการลดบทบาทของรัฐในการกำหนดนโยบาย
  3. ปฏิรูปการเก็บภาษีอากรให้มากขึ้น เช่น ภาษีที่ดิน มรดกและให้ลดภาษี สินค้าเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค
  4. ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด
  5. ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด
  6. ยกเลิกระบบโควต้า Quota ภาษีศุลกากร ที่ใช้ปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีเพราะได้แข่งขันกับสินค้าภายนอกเพื่อให้เกิดการพัฒนา
  7. ให้ยกเลิกการกีดกันการลงทุนต่างประเทศ ให้สิทธิเท่าเทียมกัน
  8. โอนกิจการของรัฐและรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์
  9. ยกเลิกกฏหมายที่เป็นปฏิปักษ์กับการลงทุนจากต่างประเทศทุกประการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันอย่างเสรี
  10. ปฏิรูปกฏหมายที่ถือครองที่ดินเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนพื้นฐานจะได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่แพ้ทุนขนาดใหญ่ จากเงื่อนไขในเจตจำนงค์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ที่ทำกับรัฐบาลที่ปกครองในขณะนั้น สถานการณ์ของประเทศยิ่งทรุดหนัก เพราะเงื่อนไขดังกล่าว เป็นประโยชน์ต่อทุนต่างชาติในการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งองค์กรระหว่างประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญนอกจาก IMF ยังมี ธนาคารโลก World Bank องค์กรการค้าโลก WTOความเสียหายพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
 
     
     
  1. การเปิดเสรี การยกเลิกโควต้า Quota ภาษีศุลกากร ส่งผลให้การน าเข้าสินค้าของประเทศพัฒนาแล้วเข้ามาตีตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ท าให้เราไม่ สามารถแข่งขันกับประเทศที่พัฒนาได้ และเราไม่มีโอกาสที่จะไล่ตามเทคโนโลยีของประเทศเหล่านั้นได้
 
     
  2. การปล่อยอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ในเรื่องของดอกเบี้ยและค่าเงินเพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่ในแง่ของความเป็นจริง กลไกตลาดนั้น ประเทศมหาอ านาจสหรัฐฯ เป็นผู้ก าหนด เพื่อให้ตนเองได้เปรียบ  
     
  3. ให้ยกเลิกการกีดกันทางการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม จากผลของเงื่อนไขตรงนี้ทำให้กิจการการค้ารายเล็กรายน้อยของไทยต้องล้มเลิกกิจการไป เพราะสู้บรรษัทข้ามชาติที่เข้า มาลงทุนในประเทศไม่ได้ ในรัฐบาลที่ผ่านมายังอนุมัติให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามาตั้งสาขาในเมืองใหญ่เกิดขึ้นมากมาย นอกจากสภาพที่ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาพวิกฤติดังกล่าวในเรื่องของเพื่อการสร้างภาพ การโฆษณาต่าง ๆ ทำให้เกิดกระแสของการบริโภค ของคนไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งอาหาร แฟชั่น แนวคิดเพื่อสนองต่อการนำเข้าเสนอของทุนนิยมที่มากับกระแสโลกาภิวัตน์ Globalizationจากการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัญหาและสิ่งที่เกิดขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ผลที่ตามมายังกระทบต่อสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การว่างงานส่งผลต่อความเครียด ทำให้บางคนหันไปพึ่งสิ่งเสพติด การค้าสิ่งผิดกฏหมาย และบางคนยอมรับกับสภาพที่ฟองสบู่แตกไม่ได้ถึงขั้นฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา ผู้ที่อยู่ในวัยเรียนหลายคนต้องออกจากสถานศึกษา เนื่องจากไม่มีเงินจะส่งเสียเพราะผู้ปกครองว่างงาน จากที่กล่าวมาข้างต้นคือปัญหาของประเทศชาติที่เกิดขึ้น
แนวทางการ แก้ไขปัญหาดังกล่าว มีวิธีการดำเนินการทางสังคมชุมชนระหว่างประเทศ
International society นั้นจะประกอบไปด้วย
รัฐชาติ
Nation State
องค์กรพัฒนาเอกชน
Non Governmental Organization
องค์การและหน่วยงานของรัฐ
Governmental Organization
องค์กรที่เป็นสากลทั้งองค์การเฉพาะด้าน เช่น
ASEAN OPEC APEC EU WTO หรือองค์กรทั่วไป เช่นสหประชาชาติ UN ซึ่งองค์กรต่างๆเหล่านี้จะเข้ามาบทบาทในเวที สังคมชุมชนระหว่างประเทศ เพื่อ ดำเนินนโยบายต่างๆ ของตนเอง แต่บทบาทของรัฐชาตินั้นถือได้ว่าสำคัญมากที่อาจจะก่อให้เกิดสันติภาพและสงครามได้มากกว่าองค์กรอื่นๆที่กล่าว มาข้างต้น เพราะรัฐในฐานะรัฐเอกราชการเป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย Final Arbiter ในการที่จะนำรัฐเข้าสู่สงคราม หรือสร้าง พันธมิตรกับรัฐอื่น อันนำซึ่งสันติภาพ ความมั่งคั่งและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ International society จะมีลักษณะเด่นๆอยู่หลายประการในการ เช่นในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ จะมีทั้งความร่วมมือ Cooperation ความประนีประนอม Compromise หรือความขัดแย้ง Conflict ซึ่งจะแสดงให้เห็นดังภาพต่อไปนี้
 
     
                ความสัมพันธ์จะเป็นในรูปแบบใดนั้นมีผลประโยชน์ของชาติ Nation Interest เป็นตัวแปรที่สำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ ถ้ารัฐสองรัฐหรือ หลายรัฐมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้วก็จะอยู่ด้วยกันอย่างราบรื่นไม่มีความขัดแย้งจะสามารถตกลงกันได้อย่างดี เช่น องค์การอาเซียนASEAN มีการ อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นแม้บางครั้งจะมีการขัดแย้งกันบ้าง แต่ถ้าผลประโยชน์ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก็อาจถึงกับต้องเกิดสงครามก็ได้ เช่น กรณีความขัดแย้งระหว่างบอสเนียกับเฮอร์เชโกวินนา หรือกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับเชคชเนีย นี่ก็แสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ของชาติ หรือผลประโยชน์เป็นตัวกำหนดว่าจะมีความสัมพันธ์กันออกมาในรูปแบบใดความขัดแย้งหรือความร่วมมือ แต่ความขัดแย้งนั้นใน ในเวทีสังคม ชุมชนระหว่างประเทศจะเป็นปรากฎการที่เกิดขึ้นเป็นประจำอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เพราะว่าความขัดแย้งกันไม่จำเป็นจะต้องก่อให้เกิดสงครามได้ เสมอไปขึ้นอยู่กับว่าเรื่องที่ขัดแย้งนั้นเป็นเรื่องใด ถ้าเป็นเรื่องเศรษฐกิจหรือการขัดแย้งในเรื่องการค้า Trade conflict ก็อาจจะไม่ถึงกับต้องเกิด สงครามเช่น ไทยขัดแย้งกับสหรัฐอเมริการในเรื่อง ภาษีท่อเหล็ก ภาษียาสูบหรือกฎหมายลิขสิทธิ์ทางปัญญา หรือก่อกรณีที่จีนขัดแย้งกับ สหรัฐอเมริกา ซึ่งขัดแย้งในเรื่องการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ทางปัญญา ซึ่งถ้าแก้ไขก็ตกลงกันได้ ด้วยวิธีการต่อรองประนีประนอมกัน Compromise แล้วก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้ Co-existence แล้วก็สามารถเกิดสันติภาพได้  
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th